คณะสัตวแพทยศาสตร์ “ใหม่” ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมปัจจุบัน

ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ ความต้องการที่มีต่อสาขาสัตวแพทยศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
ผู้คนและสิ่งของเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างประเทศกันอย่างคึกคักมากขึ้น
วิชาชีพสัตวแพทย์จึงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเป็นผู้ทำหน้าที่รับมือกับเรื่องโรคติดต่อข้ามพรมแดนของสัตว์ โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
และการรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าและส่งออก คณะสัตวแพทยศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่
มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สามารถสร้างประโยชน์และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมทั้งภา
ยในและต่างประเทศ

ลักษณะเด่น 4 ประการของคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่ก่อตั้งใหม่ในระดับแนวหน้า

ประการแรก คือ การฝึกอบรมไปพร้อมกันทั้งสัตวแพทย์ในสาขาสัตวแพทยศาสตร์
และผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ในสาขาการพยาบาลสัตว์ ซึ่งจะทำงานเคียงคู่กับสัตวแพทย์
วงการสัตวแพทย์หลังจากนี้จะก้าวเดินต่อไปได้ก็ด้วยความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย ประการที่สอง คือ
การให้การศึกษาแก่สัตวแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์เป็น 3 แขนงวิชาที่ชัดเจน
นอกเหนือจากหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ร่วมกันทั่วประเทศแล้ว ยังมีการจัดตั้งกลุ่มวิชาขั้นสูงเป็น 3 แขนงวิชา
โดยมีผลลัพธ์จาก 3 แขนงวิชาในสาขาสัตวแพทยศาสตร์ คือ นักวิจัยชีววิทยาศาสตร์เชิงเภสัชศาสตร์
สัตวแพทย์สาธารณสุข และสัตวแพทย์ที่บูรณาการการแพทย์และสัตวแพทย์ ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านสัตวแพทย์ของ
3 แขนงวิชา คือ นักเทคนิคหรือผู้จัดการสัตว์ทดลอง ข้าราชการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลสัตว์ขั้นสูง
ประการที่สาม คือ ระบบใหม่ที่ผสมผสานระหว่างการศึกษาและการวิจัย การศึกษาเป็นระบบการสอนบรรยาย
แต่การวิจัยจะไม่มีการสอนบรรยาย แต่จะเป็นงานวิจัยแบบโครงการที่มุ่งเน้นวัตถุประสงค์
โดยมุ่งเป้าสู่การวิจัยชั้นนำระดับโลกที่อยู่ห้องปฏิบัติการแบบเปิด
นักศึกษาจะได้มีส่วนร่วมในการวิจัยผ่านการเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อสำเร็จการศึกษา ประการที่สี่ คือ
การจัดวางตำแหน่งอาจารย์ประจำจำนวน 87 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากที่สุดในประเทศ
อาจารย์สาขาสัตวแพทยศาสตร์จำนวน 75 ท่าน และสาขาการพยาบาลสัตว์จำนวน 12
ท่านจะได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ความรู้แก่นักศึกษาในทั้งสองสาขา เรารองรับการปรับเปลี่ยนสู่ระดับนานาชาติ
พร้อมกับให้ความสำคัญกับการทุ่มเทสร้างประโยชน์แก่ท้องถิ่น คือ “การส่งเสริมอุตสาหกรรมในระดับท้องถิ่น”
ไปด้วย โดยจะสร้างบุคลากรที่สามารถทำงานสร้างประโยชน์ได้ทั้งใน "ระดับท้องถิ่นและระดับโลก"
ขอเชิญทุกท่านร่วมกันสร้างคณะสัตวแพทยศาสตร์ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
ณ วิทยาเขตอิมาบาริ ที่จัดเตรียมความพร้อมด้านสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ยอดเยี่ยมในระดับแนวหน้าสุด

ศูนย์ศึกษาและวิจัยด้านสัตวแพทย์นานาชาติ

ศูนย์ศึกษาและวิจัยด้านสัตวแพทย์นานาชาติ
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้วยการศึกษาและวิจัยร่วมกับสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับด้านสัตวแพทยศาสตร์
โดยจะดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสัตวแพทย์ที่มีความเฉพาะทางสูงทั้งจากภายในและต่างประเทศ และเมื่อเรียบเรียงปรับแก้ข้อมูลดังกล่าวแล้วก็จะเผยแพร่ผ่านโฮมเพจหรือช่องทางอื่น ๆ ต่อไป
อีกทั้งจะได้จัดให้มีงานประชุมเสวนา งานประชุมวิชาการ และกลุ่มศึกษาวิจัยต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสาขาสัตวแพทยศาสตร์ทั้งภายในและต่างประเทศภายใต้วัตถุประสงค์เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความสามารถที่จำเป็นสำหรับสัตวแพทย์เฉพาะทางหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว
แพทย์ (VPP) ที่สามารถรองรับสาขาเกิดใหม่ได้ โดยรวบรวมและเรียบเรียงปรับแก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
จัดทำเป็นฐานข้อมูล และสร้างระบบนำเสนอเป็นสื่อการศึกษาแบบออนดีมานด์ (On-demand)
เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านชีววิทยาศาสตร์ (Life sciences)
และการศึกษาวิจัยด้านงานสัตวแพทย์สาธารณสุขที่จำเป็นในการรองรับไปทั่วโลก

งานของศูนย์ศึกษาและวิจัย

1.งานเผยแพร่ข้อมูล

รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานสัตวแพทย์จากภายในและต่างประเทศ
เรียบเรียงปรับแก้แล้วเผยแพร่ผ่านทางโฮมเพจ

2.งานสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ

ส่งบุคลากรที่เป็นอาจารย์ไปยังสถาบันหรือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านสัตวแพทยศาสตร์ในต่างประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพของบุคลากรที่เป็นอาจารย์ที่ให้ศึกษาเรื่องงานสัตวแพทย์ในระดับนานา
ชาติ และเพื่อสร้างความร่วมมือกับสถาบันหรือมหาวิทยาลัยดังกล่าว
อีกทั้งจะได้ส่งบุคลากรที่เป็นอาจารย์เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติต่าง ๆ
ที่จัดขึ้นภายในประเทศอีกด้วย

3.งานจัดประชุมเสวนา

ศูนย์ศึกษาและวิจัยของเรายังตระหนักถึงความร่วมมือในระดับท้องถิ่น
จึงได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเสวนาเกี่ยวกับงานสัตวแพทย์อีกด้วย

4.งานพัฒนาการศึกษาด้านสัตวแพทย์ในระดับนานาชาติ

เมื่อจัดทำและรวบรวมสื่อการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาเรื่องงานสัตวแพทย์ในระดับนานาชาติ
และจัดทำเป็นฐานข้อมูลแล้ว จะดำเนินการให้สามารถใช้งานแบบออนดีมานด์ (On-demand) ได้

Copyright ©2019 OKAYAMA UNIVERSITY OF SCIENCE.
All Rights Reserved.